ตำนานเพลงที่ไม่มีวันตาย : Elvis Preley

ย้อนเรื่องราวครั้งวันวาน ในยุคสมัยของคุณ พาสู่ดนตรีที่เป็นตำนานและอยู่ในใจของใครหลายคน ทุกเรื่องราว ทุกบทเพลงแห่งความทรงจำ นำมารวมไว้ในที่นี้ ให้ได้ติดตามกัน

กว่าจะมาเป็น Rock and Roll

ไปพบกับเรื่องราว เสียงเพลงแห่งตำนานดนตรี Rock and Roll ทุกเรื่องราว ความเป็นมา ให้หวลรำลึก ตำนานเพลง จากคนดำสู่ คนขาว หลากหลายดนตรี หลายสายพันธ์ดนตรี ไม่มีวันลืม

ดนตรียุคใหม่แห่งอิเล็คทริค และเสียงสังเคราะห์สู่ตำนาน

ยุคทศวรรษสู่โลกดนตรีอิเล็คทริค เสียงสังเคราะห์สู่ดนตรียุคใหม่อย่างสมบูรณ์ ทุกเรื่องราวดนตรี และความยิ่งใหญ่แห่งตำนานเพลงที่ไม่มีวันตาย รอคุณอยู่ ณ ที่นี้ โลกของบทเพลงแห่งตำนาน

ยุคสมัยการวางรากฐานดนตรีที่มั่นคง

กระแสดนตรีจากเกาะอังกฤษที่ถาโถมสังคมอเมริกันที่จดจำแห่งยุคสมัย The Beatles วง 4 เต่าทองผู้สร้างกระแสความนิยมไปทั่วโลก พบกับตำนานเพลงและเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้ได้ที่นี่

คันทรีย์ร็อคที่มีอิทธิพลแห่งยุคสมัย

บทเพลง The EAGLES สร้างตำนานเพลงแห่งยุคสมัย พบกับเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้และเรื่องราวในยุคสมัยมากมาย รอคุณอยู่ ณ ที่แห่งนี้

Saturday, October 22, 2011

Rockability : ต้นกำเนิดเพลงร็อค

  ดนตรี Rockability ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของดนตรี Rock & Roll ก็ว่าได้ มีที่มาจากแถบทางตอนใต้ของอเมริกา เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 50 โดยชื่อเรียกดนตรีแบบ  Rockability หมายถึง ร็อคแบบของคนภูเขา หรือ ฮิลล์บิลลี่
    ซึ่งเป็นเพลงสายหนึ่งของดนตรีคันทรี่ย์อีกลักษณะหนึ่ง โดยมีรูปแบบอย่างเพลงบูลส์กราสที่โดดเด่นมาก เป็นการผสมผสานดนตรีที่ลงตัว  นักดนตรีที่มีชื่อในแนวดนตรีแบบ Rockability อย่าง Bill Haley , Scotty Moore , และ Eddie Cochran เสียงกีตาร์จะส่งเสียงสำเนียงน่าระทึกใจ เบส กลองเล่นเสียงกระชับ ให้จังหวะเข้ากันได้ดี ส่วนเสียงร้องของนักร้องในแนวนี้ จะฟังคล้าย ๆ กับไม่ตั้งใจร้อง ร้องเร็ว และออกเสียงแบบแปลก ๆ มีทั้งกรีดเสียงร้องตะกุกตะกัก บางทีทำเสียงแบบติดอ่าง อย่างเช่น Elvis Presley , Jerry Lee Lewis และ Carl Perkins นับว่าเป็นสิลปินแบบ Rockability ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

ดนตรีแบบ Gospel : ความรักและศรัทธาในเพลง

     ดนตรีแบบ Gospel เป็นของคนดำแบบเดียวกับดนตรีบูลส์ในสายอื่น ๆ ที่พัฒนารูปแบบมาจากรากฐานบูลส์แบบดั้งเดิม แต่ดนตรี Gospel  ได้รวมความศรัทธาทางศาสนาคริสต์ของคนดำที่เคร่งศาสนา ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบเพลงที่มีเนื้อหาในการบูชาพระเจ้าเป็นหลัก
           อาจกล่าวได้ว่าดนตรีแบบ Gospel เป็นดนตรีของคนดำที่เคร่งศาสนา
เดิมทีดนตรีแบบ Gospel เล่นกันอยู่ในวงจำกัด กลุ่มเล็ก ๆ ในชนบท นักร้องเพลงแนวนี้มักร้องเล่นเพลงกันในโบสถ์ของคนผิวดำ และคณะนักร้องประสานเสียงของโบสถ์ หรือมักจะร้องเล่นกันแบบสาธารณะกุศล พวกเขาเชื่อในพระเจ้า เพลงแบบ Gospel  จึงเสมือนดนตรีทางศาสนาของคนผิวดำโดยเฉพาะ  ต่อมาเพลงแบบนี้ได้แพร่หลายตามการสอนศาสนาในที่ต่าง ๆ ได้ขยายวงกว้างมากขึ้น ได้ขยายความนิยมไปสู่คนขาวด้วย จนกระทั่งได้กลายเป็นสายหนึ่งของดนตรีอีกประเภทหนึ่งที่แตกแขนงมาจากบูลส์ในแบบดั้งเดิม  นักร้องนักดนตรีผิวดำที่โด่งดังในแนวเพลงแบบ Gospel อาทิ Little Richard , Sam Cooke , Clyde McPhatter (เป็นวง Driffersในเวลาต่อมา ) Aretha Frankin เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีผิวขาวก็ร้องเล่นเพลงแบบ Gospel เช่นกัน แต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งมักจะร้องประสานเสียงในคีย์ที่ต่างระดับกัน มีการจัดระดับเสียงและออกสำเนียงเสียงที่เป็นระเบียบกว่า คณะดนตรีผิวขาวที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น คณะ The Brown's Ferry Four , The Blackwood Brothers และวง The Statesmen

Friday, October 21, 2011

จุดเริ่มต้นดนตรี Jazz

              เพลงบลูส์ ถือเป็นรากเหง้าของดนตรีคนผิวดำ เกิดขึ้นในดินแดนอเมริกันชน เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับดนตรีลูกทุ่งอเมริกันที่มีมาก่อนแล้ว แต่ดูเหมือนว่า เพลงบลูส์ที่มีถิ่นฐานจากคนผิวดำในอเมริกันภาคใต้ จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่คนผิวขาว เมื่อเพลง Blue ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น กลุ่มนักดนตรีคนผิวดำส่วนหนึ่ง หันไปหาวิธีการเล่นดนตรีแบบถิ่นกำเนิดในแอฟริกา 
          โดยใช้เครื่องเคาะจังหวะ มีนักร้องทั้งชายและหญิง ร้องในแบบที่สืบทอดกันมาโดยสายเลือดของพื้นเมืองแอฟริกัน ดนตรีในแบบนี้ฟังดูมีความชีวิต ชีวา มากกว่าความหดหู่แบบบลูส์ดั้งเดิม ซึ่งเกิดขึ้นในราวปี ค.ศ. 1895 เรียกกันว่า "Ragtime (แร็กไทม์) จนกระทั่ง้มื่อเวลาผ่านไป ในศตวรรษที่ 20 ดนตรีแร็กไทม์ถูกปรับรูปแบบสู่ดนตรีใหม่ โดยกลุ่มนักดนตรีที่ก่อตัวขึ้นใน "นิวออร์ลีนส์" 
                    ดนตรีชนิดนี้ที่ต่อมาเรียกว่า "Jazz"  ซึ่งดนตรีแจ๊ส เกิดขึ้นโดยการผสมวัฒนธรรมทางดนตรีแบบแอฟริกัน รวมเข้ากับ วัฒนธรรมดนตรีคนผิวขาวในนิวออร์ลีนส์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีโรงเต้นรำและคลับมากมาย ในเวลาไม่นานเพลงแจ๊สก็กลายมาเป็นที่นิยมโดยทั่วไปและสร้างธุรกิจที่เติบโตให้กับนักดนตรีผิวขาวและผิวดำมากมาย และยังคงกระจายออกไปตามเมืองใหญ่ ๆ อย่างชิคาโก และ นิวยอร์ก อีกด้วย
เพลงแจ๊สนั้น มีเส้นทางการเติบโตแตกออกเป็นสายต่าง ๆ เช่น จาก "New Orleans Jazz" ก็ได้แตกสายออกไปอีก เป็น "Dixeland" เป็น "Chicago" เป็น "Swing" เป็น "Big Band" เป็น "Bebop" และเติบโตมาเรื่อย ๆ ซึ่งกว่าจะมาเป็นดนตรีแจ๊สที่ใช้ร้องเล่นกันอยู่ทุกวันนี้ มันได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนวิธีการเล่นมามากมายแล้ว
นักดนตรีแจ๊สผู้มีชื่อเสียงทั้งคนผิวขาวและผิวดำ นั้นมีมากมาย อาทิเช่น "Count Basie" , "Duke Ellington" , "louis Armstrong" , "Benny Goodman" และ "Billie Holiday" เป็นต้น .....

ลูกทุ่งตะวันตก คาวบอยซอง (Cowboy Song)

                  ในช่วงทศวรรษที่ 40 - 50 เพลงบลูส์ยังคงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและวัฒนาการทางกระแสดนตรี แต่ตลาดดนตรีส่วนใหญ่เป็นของคนผิวขาว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ถึงแม้วิทยาการจะทำให้สหรัฐอเมริกาดูเจริญขึ้น แต่ขีดศีลธรรมในใจยังไม่ดีขึ้นในหลาย ๆ ภูมิภาคของประเทศ การกีดกันสีผิวและเกลียดชังคนผิวสียังคงดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่คนขาวไม่อาจปฏิเสธก็คือการขโมยสมบัติของคนดำมาใช้นั่นคือ "เพลงบลูส์"  ด้วยเหตุนี้ทำให้คนขาวพยายามที่จะนำเพลงบลูส์ มาประยุกต์ ดัดแปลงให้เป็นของตนเอง ซึ่งยุคแรก ๆ ก็จะมีนักร้อง นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ คน อย่างเช่น Hank William (แฮงค์  วิลเลี่ ยมส์) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงผิวขาวจากอลาบามา ซึ่งโด่ง ดังขึ้นมาด้วยเพลงแบบ "Honkytonk" (ฮองกีย์ทองค์)

                      แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  เดินตามรอย "จิมมี่  ร็อดเจอร์" ผู้บุกเบิกสร้างดนตรีบลูส์ของคนขาวขึ้น  จนกลายเป็นเพลงคันทรีย์ที่มีรูปแบบแปลกไปจากเดิมที่คนขาวเคยเล่นกัน  " ฮองกีย์ทองค์ " เป็นรูปแบบเพลงคันทรี่ย์ ที่มีรูปแบบง่าย ๆ ที่ไม่เหมือนคันทรี่แบนด์ทั่วไป  ดนตรีแบบนี้มักเป็นการเล่าเรื่องจากชีวิตจริง หรือบทโคลงกลอนที่จดจำกันมา  แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  เขียนเพลงประเภทนี้ไว้มากมาย ที่ดัง ๆ  อาทิ เช่น " Yourge Cheatin Heart " " I'm So Lonesome I Could Cry " " C old Cold Heart  " แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  ได้ทำให้เพลงแบบ ฮองกีย์ทองค์ โด่งดังขึ้น จนกลายเป็นเพลงที่เปิดฟังกันอย่างแพร่หลายในช่วงนั้น และดูจะเป็นนักดนตรีคนเดียวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 40  แต่แล้วเมื่ออายุเพียง 30 ปี แฮงค์  วิลเลี่ยมส์   ก็ต้องลาจากโลกนีไป เพราะการเสพยาเกินขนาด หากแต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังคงเป็นที่จดจำกันจนทุกวันนี้

นอกจากแฮงค์   วิลเลี่ยมแล้ว  ยังมีนักร้องประเภทฮองกีท้องค์ในยุคเดียวกันอีกหลายคน อาทิเช่น Ernest Tubb , Web Pierce , Lefty Frizzell  และมีนักร้องหญิง Kitt Wells ที่ร้องเพลงในสไตล์ของฮองกีท้องค์ด้วย  เพลงของ ฮองกีท้องค์ในยุคนี้เนื้อหาออกมาหลาย ๆ แนว ล้วนเป็นการแสดงออกถึงการใช้ชีวิตของผู้ชายเป็นส่นใหญ่ ทั้งการเดินทาง การต่อสู้ผจญภัย หรือการระหกระเหิน เช่นเพลง Slipping Around , Wild Side of Life  หรือเพลงแบบสำมะเลเทเมา There Stands the Glass และเพลงของคนที่อ้างว้างว้าเหว่ Walking the Floor over You ด้านภาพพจน์ของนักดนตรีแบบฮองกีท้องค์ มักถูกสร้างภาพเป็นพวกนักแสวงโชค ไม่มีหลัก ไม่มีฐานแน่นอน ไม่มีสตางค์  ชีวิตไม่มีแก่นสาร ชีวิตจมปลักกับบาร์ เหล้า ปราศจากเพื่อน ปราศจากความรัก วัน ๆ ไม่มีอะไรดีไปกว่า การดื่มและพร่ำเพ้อแต่เรื่องไร้สาระ เปรียบไปก็เหมือนกับคนจรนั่นเอง
ในช่วงแรก ๆ ดนตรีฮองกีท้องค์ มักจะร้องเล่นโดยนักดนตรีเพียงคนเดียว กับอคูสติกกีตาร์เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของเพลงบูลส์ ในยุคแรก ๆ แต่ต่อมาได้พัฒนาเล่นเป็นวง มีการนำ ฟิลเดิล (Fiddle) หรือ ซอฝรั่ง มาใช้ด้วย โดยมีริธึ่มกีตาร์ และเบสคอยเป็นแบ็คอัพให้  กระทั่งต่อมาเครื่องดนตรีไฟฟ้าถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย นักดนตรีฮองกีท้องค์จึงได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย นักร้องเพลงแบบฮองกีท้องค์รุ่นต่อมา ที่ทำเพลงแนวนี้ให้เป็นที่นิยมและโด่งดังในยุค ทศวรรษที่ 50 คือ Johnny Horton
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ทางด้านตลาดเพลงคันทรี่แท้ ๆ เองก็ยังคงดำเนินไปอย่างปกติ ศิลปินยังคงทำผลงานออกมาในกลุ่มผู้ฟังของตนเอง นักร้องคันทรี่สองคน ที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงคันทรี่ คือ Roy Acuff , และ Hank Snow ทั้งสองโดดเด่นขึ้นมาโดยการนำเสนอแนวทางใหม่ให้กับเพลงคันทรี่ พวกเขาใช้บทเพลงในที่พูดถึงความหวังในเชิงคำสอนของพระเจ้า ทำให้เพลงคันทรี่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ ขึ้นบ้างจากเดิมที่เป็นเพียงเพลงเพื่อชีวิตและสังคมแบบชาวชนบทเท่านั้น  Acuff มีเพลงดังอย่าง Wabash Cannonball , Freight Train Blues , ส่วนของ Snow ก็มีเพลง I'm Moving On , The Golden Rocket เพลงเหล่านี้ยังคงทรงอืทธิพลกับวงการของเพลงคันทรี่ในยุคต่อ ๆมาอีกด้วย ทั่ง Acuff และ Snow เป็นเสมือนผู้จุดประกายเพลงคันทรี่ให้จรัสแสงชึ้น และยังเป็นผู้บุกเบิกเพลงแนวเพลงคันทรี่ให้เป็นที่นิยมในวงกว้าง จนมีตลาดเพลงเฉพาะของตัวเองจนทุกวันนี้  ( เพลงคันทรี่เดิม เป็นเพลงที่ข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาจากอังกฤษพร้อมกับกลุ่มชนชั้นล่าง ที่บุกเบิกที่ขึ้นมาในแผ่นดินอเมริกาตอนเหนือ เมื่อเดินทางรอนแรม ข้ามฝั่งมาหาดินแดนสำหรับปักฐานเพาะปลูกในฝั่งตะวันตก พวกเขาได้ใช้ดนตรีที่ติดตัวมาร้องเล่นกันด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านแบบง่าย ๆ อย่าง ซอ , ฮาร์พ , แอ็คโคเดียน , และเครื่องเคาะที่ใช้ Washboard หรือ กระดานซักผ้า ต่อมาเมื่อเพลงแบบนี้แพร่หลายขึ้น จึงมีการรวมกลุ่มเป็นวงและมีกีตาร์เข้ามาช่วย จนกระทั่งประยุกต์มาเป็นเพลงรูปแบบต่าง ๆ จนทุกวันนี้

BLUEGRASS : ดนตรีผสม คันทรี่ บลูส์ และ แจ๊ส

               ตั้งแต่กลุ่มดนตรีจากฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 30-40 ทำให้ตลาดทางฝั่งตะวันตกเริ่มเป็นที่สนใจ มีดนตรีอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาจากดินแดนทางแถบนั้นเรียกว่า Bluegrass และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว 
                ดนตรี Bluegrass  สืบเชื้อสายมาจากดนตรีสตริงแบนด์ของกลุ่มคนที่เรียกว่า Hillbilly หรือคนภูเขา  เป็นกลุ่มคนที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย และมีวัฒนธรรมแบบคนชนบท
 พวกเขามีรูปแบบดนตรีของตนเองและเริ่มขยายไปสู่โลกภายนอก จนเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ทศวรรษที่ 20 - 30 ดนตรีแบบ Hillbilly หรือคนภูเขา เติบโตมาจากฐานดั้งเดิม คือเพลงคันทรี่ ที่มากับพื้นถิ่นของคนที่อพยพมาอยู่ในแผ่นดินอเมริกาตั้งแต่รุ่นแรก ๆ และมีความใกล้เคียงกับรากเดิมนั้นมากที่สุด   เดิททีนั้น  มีการใช้เครื่องดนตรีเพียงสามชิ้น อย่างซอฝรั่ง แบนโจ และกีตาร์ ต่อมาได้แตกสายออกมาเป็นบลูส์กราสแล้วได้เพิ่ม เอาเบส และ แมนโดลิน เข้ามาใช้ด้วย ดนตรีแบบนี้เน้นไปที่น้ำเสียงการร้องและลูกเล่นการใช้นิ้วที่ฉับไวในการเล่นเครื่องดนตรี ที่สำคัญดนตรีแบบบลูส์กราส จะหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าทั้งหมด เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะให้เสียงจริงของมันเอง แม้แต่เบส ก็ต้องใช้ดับเบิ้ลเบส เป็นการพยายามให้มีความใกล้ชิดกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด เนื้อเพลงจะเป็นประเภทโคลงกลอน และเรื่องราวเก่า ๆ ทั้งยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อเก่า ๆ ทางด้านศาสนา เพลงบูลส์กราสยังเป็นการทำให้ผู้คนได้เริ่มหันกลับไปสนใจบรรยากาสของเพลงแบบคันทรี่ย์ และบลูส์แบบเก่า ๆ ได้อีกเช่นกัน
      ดนตรีบลูส์กราส เกิดการผสมผสานอิทธิพลดนตรีหลาย ๆ แบบ ทั้งคันทรีย์ , บลูส์ และแจ๊ส หรืออาจพูดได้ว่าเพลงแบบบลูส์กราส ก็คือ การเอาเพลงดัั้งเดิมมาใส่จังหวะจะโคนให้มีความเร็วและกระชับไวขึ้น วงดนตรีประเภทบลูส์กราสที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ The Stanley Brothers และ  Bill Monroe and Hits Bluegrass Boys โดนเฉพาะอย่างยิ่ง บิลล์ มอนโร นักร้องและนักแมนโดลินนั้น สามารถทำให้การใช้สำเนียงการร้องของเขากลายเป็นที่นิยมและกลายเป็นต้นแบบให้กับวงดนตรีคณะอื่น ๆ นำไปใช้ นั่นคือ การร้องที่ใช้เสียงด้นสูง ซึ่งเรียกว่าเสียงแบบ Mountain Hightenor ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่สร้างบุคลิกให้กับเพลงแบบบลูส์กราส  Earn Scruggs เป็นนักดนตรีประเภทบลูส์กราสที่สร้างชื่ออีกคน เขาถนัดเล่นเพลงในสไตลเล่นเบนโจที่ว่องไวเป็นพิเศษ ซึ่งเขาเองก็เป็นนักดนตรีในสไตล์ Country & Western ที่มีชื่อเสียงอีกคน
ดนตรีบูลกำเนิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 จนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 50  กล่าวได้ว่าดนตรีแบบบลูส์กราส มีส่วนอย่างยิ่งต่อการเดิดกระแสดนตรีแบบร็อค แอนโรล์ขึ้น เป็นการวางรากฐานให้กับดนตรียุคต่อ ๆ มา ที่เป็นแนวเพลงแบบใช้จังหวะกระชับว่องไว วงดนตรีที่ได้รับอิทธิพลดนตรีแนวนี้ อย่างศิลปินคู่ดูโอที่มีชื่อเสียงยุค 60 อย่าง The Everly Brothers เป็นวงที่ได้นำแนวเพลงแบบบลูส์กราสมาใช้ หรืองานเพลงยุคแรก ๆ ของ เอลวิส เพรสลี่  ก็ได้ Bill Black มาเล่นเบสแบบแปดห้องตามรูปแบบของบลูส์กราสที่กำหนดไว้ในเพลงของบิลล์ มอนโร มาก่อนหน้ายุคของเขาประมาณเจ็ดถึงแปดปี อีกทั้งการเล่นแบบเป็นกลุ่มและการร้องเสียงคับคอในรูปแบบบลูส์กราสยังถูกนำมาใช้กับเพลงในยุคสมัยของร็อคแอนโรลกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

Rhythm & Blues (R&B) : เพลงบลูส์ที่จับจังหวะใส่ให้มีชีวิตชีวา

           เพลงแบบ Rhythm & Blues ถือกำเนิดขึ้นราวกลางยุคทศวรรษที่ 40 ซึ่งมาจากนักดนตรีบลูส์ผิวดำ ที่คิดทำเพลงของเขาให้มีจังหวะสนุกสนานขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วมันมีรากฐานมาจากดนตรีแจ๊สที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

        และเมื่อกระแสของดนตรีคนผิวดำผ่านช่วงยุคสมัยที่มาใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องดนตรีไฟฟ้าต่าง ๆ  นักดนตรีกลุ่มนี้ที่มีชื่อเสียงอาทิ Louis Jardan , Ray Charles , และ Fats Domino พวกเขามีส่วนสำคัญในการวางรูปแบบดนตรีแนว Rhythm & Blues ให้มีจังหวะที่กระชับและตายตัวเป็นแนวทางดนตรีอีกสายหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้

ยุค 80's : ตอน 2 ดนตรีสีสรรค์และจังหวะ

          ในยุค 80 นี้ได้เกิดดนตรีในแนวนิวเวฟ  ที่เป็นดนตรีที่ได้รับอิทธิพลของดนตรีพังค์ในยุคที่แล้วมาปรับปรุงลดความรุนแรงของเนื้อหาลง มีรายละเอียดด้านดนตรีมากขึ้น อย่างเช่นวง Talking Heads , Devo , The Pretenders เป็นต้น

         นอกจากนี้ยังมีวง Van Helen ที่ได้้ทำให้เกิดคำว่า Guitar Hero ขึ้นจากเทคนิคการเล่นกีตาร์อันพิศดารของ Eddie Van Halen  ซึ่งวงนี้ยังเป็นต้นแบบของวง Hair Band หรือ Hair Metal ในยุคต่อมาเช่นวง Motley Crue , Bon Jovi , Ratt ซึ่งเหตุที่เรียกว่า  Hair Band หรือ Hair Metal เพราะว่าวงประเภทนี้ ทุกคนในวงต่างไว้ผมยาวสลวย ถือว่าในยุคนั้นวงประเภทนี้ได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจาก MTV ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในปี 1981 ได้มองเห็นว่าวงดนตรีประเภทนี้ น่าจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเพศหญิง ด้วยรูปร่างหน้าตาของตัวศิลปินเองและท่วงทำนองเพลงที่ติดหูง่าย  ดังนั้น MTV จึงกระหน่ำเปิดมิวสิควีดีโอของวง  Hair Band และได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี
       
 ดนตรีประเภท Instrumental Rock หรือจะเรียกว่าเป็นแนว Guitar Hero ก็ได้ เริ่มจะได้รับความนิยมขึ้นมา ดนตรีประเภทนี้เป็นดนตรีที่ใช้การบรรเลงของเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียวแทบจะไม่มีเพลงที่มีเนื้อร้องเลย และมีกีตาร์เป็นตัวชูโรง ศิลปินนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในแนวนี้ได้แก่ Joe Satriani , George Lynch , Yngwie Malmsteen , Steve Morse เป็นต้น
         

ในยุคนี้ ได้มีวงดนตรีที่เป็นทางเลือก คือดนตรีแบบ  ALTERNATIVE ROCK หรือเรียกว่า อินดี้ เป็นเพลงที่ทำดนตรี เสนอขายเอง ทำเอง เล่นเอง ขายเอง ไม่ต้องพึ่งค่ายเพลงใหญ่ ๆ ดนตรีในแบบอินดี้นี้  เริ่มถือกำเนิดขึ้นโดยเป็นการทำดนตรีแบบง่าย ๆ อัดจากโรงรถบ้าง ห้องนอนบ้าง ถึงแม้ว่าคุณภาพด้านโปรดักชั่นอาจไม่ดีนัก แต่สิ่งที่ทดแทนกลับมาคือ ความสดใหม่ ความดิบของซาวด์ บางคนเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า Garage Rock บางคนเรียกว่า Collage Rock ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ วงดนตรีประเภทนี้ได้สร้างสรรค์ซาวด์แบบใหม่ ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงดนตรีในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก อย่างเช่นวง R.E.M., The Pixies , The Smiths , Sonic Youth , Joy Division , New Orders เป็นต้น

                      

ยุค 80's : ตอน 1 ดนตรีสีสรรค์และจังหวะ

         ในยุค  80  วงการเพลงได้เปลี่ยนจาก การแสดง Concert  การฟังจากรายการวิทยุ เปลี่ยนไปสู่โลกของโทรทัศน์ ที่สามารถแพร่ภาพให้ผู้ชมพร้อม ๆ กันได้ทั่วโลก ยุค 80 ในปี 1981 ได้เกิดขึ้น ของ MTV ทำให้รูปแบบการรับรู้สื่อทางด้านดนตรีหลากหลายขึ้น จากเดิมที่เคยฟังเพลงจากเสียงเพลง  MTV ได้ปรับเปลี่ยนการกระจายสื่อในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เคเบิลทีวี มิวสิคทีวี หรือ เอ็มทีวี ในประเทศอังกฤษ การเปลี่ยนจากยุคเทป แผ่นเสียง เป็น ซีดีเพลง มีความจุเพลงได้มากกว่าเดิม มี SONY WALKMANเกิดขึ้น สามารถฟังเพลงคนเดียวได้โดยไม่รบกวนใคร      มีมิวสิควิดีโอ ที่เป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงนั่นคือ ของ ไมเคิล  แจ็คสัน ได้เกิดมิวสิค วิดีโอมากมาย รวมทั้ง มีมิวสิค , Concert , อันปลั๊ก อีกมากมายเป็นต้น 

เครื่องดนตรีอย่างคีย์บอร์ด และซินธิไซเซอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำเพลง ด้วยความสามารถที่สร้างเสียงดนตรีได้อย่างหลากหลาย วงการดนตรีเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำดนตรี มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามา มีอินเตอร์เน็ทใช้งานในยุคนี้
 ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ นี้ ทำให้เป็นที่นิยมของนักดนตรีในยุคนี้ รวมทั้งอิทธิพลของดนตรีเต้นรำที่ถือเป็นกระแสหลักในตอนนั้นอย่างเพลงแนว Disco ที่ทำให้เกิด NIGHT CLUB BAR DISCO THECH  ที่เป็นสถานที่เต้นรำของวัยรุ่นในยุคนั้น ได้รับความนิยมและแพร่หลาย เป็นอย่างมาก ทำให้ซาวด์ของดนตรีร็อคเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทำให้ยุคนี้เป็นช่วงที่ดนตรีคึกคัก สนุกสนานและมีสีสันมากขึ้น   มีเพลงที่มีจังหวะสนุก เป็นเพลงฮิตติดหูมากมาย ๆ อย่างเช่น 

Shake, Shake, Shake) Shake Your Booty -KC & the Sunshine Band

• That's The Way I Like It - KC & the Sunshine Band

• YMCA - Village People

• Boogie Wonderland - Earth, Wind & Fire

• Car Wash - Rose Royce

• Disco Inferno - The Trammps

• Don't Leave Me This Way - Thelma Houston

• Funkytown - Lipps, Inc.

• Good Times - Chic

• Hot Stuff - Donna Summer

• I Will Survive - Gloria Gaynor

• Le Freak - Chic

• D.I.S.C.O. - Ottawan

• Hands Up (Give Me Your Heart) – Ottawan
                   

ยุค 70 ตอน 2 Rock Never Die

                   ดนตรีในแบบ Hard Rock  ถูกพัฒนามาเป็นดนตรีแบบ Heavy Metal แต่ละวงจะมี รีฟดนตรีแปลกใหม่ สร้างความโดดเด่นให้กับวง  เพลง ROCK  ที่เล่นจะมีความยาวมากกว่า 3 นาที ที่เป็นปกติ และมักจะเล่นเพลงให้มีเสียงดังมากขึ้น เล่นเพลงยาวขึ้น เสียงดนตรีออกมาสนั่นหวั่นไหว ทำให้เป็นที่ถูกใจวัยรุ่น และเป็นที่นิยมมากขึ้น กลุ่มนักดนตรีที่มีชื่อเสียง   เช่น วงครีม นำโดย Eric Clapton , Led Zeppelin,  Black Sabbath , AC/DC , Alice Cooper , ดนตรีแนวนี้จะมีเนื้อหาที่รุนแรง ต่อต้านพระเจ้า ลักษณะของนักดนตรีเป็นในรูปของศิลปินเดี่ยวที่มีให้เห็นมากขึ้น ซึ่งนักดนตรีเหล่านี้ แทบจะทำทุกอย่างด้วยตนเองเพียงคนเดียว ทั้งการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง รวมทั้งเล่นเครื่องดนตรีเอง อย่างเช่น Tim Buckley , Bruce Springteen , Neil Young 

       




ดนตรีแนวโปรแกรสสีพ  ร็อค เป็นดนตรีแนวพวกร้อนวิชา เรียนทฤษีดนตรีมาอย่าลองดูผลงานดนตรีในรูปแปลกใหม่ของตน จะมีเทคนิคซับซ้อนมากมาย เพลงจะยาวมาก เนื้อหาใช้จินตนาการ อวกาศ เทพนิยาย และมีดนตรีแนวคลาสิค ปนด้วย วงแนวนี้เช่น คณะวง YES  มีเพลงฮิตติดชาร์ทเพลง เช่น Genesis


 ยุคนี้เกิดขึ้นของดนตรี Funk Rock   เป็นดนตรีของพวกวัยรุ่นที่เกเร ต่อต้านสังคม แต่งตัวแบบเจาะหู เข็มกลัดตัว แสดงออกถึงความเจ็บปวด เป็นพวกเด็กฐานะที่ไม่ดี  รูปแบบดนตรีแบบดุดัน ด่าราชินีอังกฤษ เล่นดนตรีแบบลุยโครมคราม มีวงต้นแบบ ทั้งเรื่องดนตรีและการใช้ชีวิตคือ The Sex Pistols   มีเพลงที่มีเนื้อหาที่รุนแรง อย่างเพลง God Save the Queen  ที่ สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ทเพลงทางฝั่งของอังกฤษ  อัลบั้ม  Never Mind the Bollocks กลายเป็นอัลบั้มคลาสิคที่เหล่าชาวพังค์จำเป็นต้องมีไว้ครอบครอง  
นอกจากนี้ก็ยังมีวง THE WHO  เป็นต้น  ส่วนทางฝากฝั่งอเมริกา  ก็มีวงพังค์หลายวงที่ได้ถือกำเนิดขึ้นอาทิ เช่น The Ramones , Black Flag เป็นต้น 


ยุค 70 ตอน 1 Rock Never Die

    ในยุคสมัยนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านดนตรีอย่างมาก ยุคนี้เกิดนักกีตาร์ฮีโรหลายคน  ยุค 70 ดนตรี ROCK ได้เริ่มแตกแขนงไปหลายสาขา หลากหลายแนว เช่น แจ๊สร็อค  คันทรีย์ร็อค โฟล็คร็อค ฟังค์ร็อค โปรแกสสีพร็อค  เป็นต้น

 วงดนตรีชื่อดังหลายวง ในยุคนี้ต้องยุติวง หรือแตกออกไปเป็นวงอื่นหลากหลายวง และการเกิดขึ้นของอุปกรณ์อย่างคีย์บอร์ดและซินธิไซเซอร์ ทำให้โลกของการทำดนตรีเปลี่ยนแปลงไป เกิดเสียงดนตรีใหม่ ๆ ซาวด์เดิม ๆ ถูกนำมาประยุกต์จนเกิดดนตรีแนวใหม่ขึ้น

        ในยุค 70 นี้ดนตรีย้อนกลับไปสู่รากฐานเดิม เกิดแนวดนตรี แบบ Country Rock ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยดนตรีและเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย วงดังในยุคนั้น คือ The Eagles
ซึ่งกลุ่มนักฟังเพลงต่างรู้จักวงนี้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในยุค 70 ยังมีดนตรีแนว เร็กเก้จากประเทศโลกที่สามอย่าง จาไมกา กลายเป็นดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดช่วงหนึ่ง ผู้ที่ถือว่าเป็นบิดาแห่งเร็กเก้คือ Bob Marley
        ต่อมาดนตรีเร็กเก้ถูกนำมาผสมกับดนตรีร็อคจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงหลาย ๆ วงที่เล่นในแนวนี้ อย่างเช่นวง The Police



Sunday, October 9, 2011

ก่อนเป็น Rock & Roll : คนดำผู้นำพาดนตรีบูลส์สู่อเมริกา

 สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ที่สนใจ ประวัติความเป็นมาของเพลงสากลเก่า ๆ วันนี้ผม ขอเริ่มต้นยุคดนตรีสมัยใหม่ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจันนี้ มันมีจุดเริ่มต้น เรื่องราวมากมายกว่าจะมีวันนี้ได้ ซึ่งผมจะขอพูดเป็นตอน ๆ ที่ไม่ยาวมากนักเพื่อไม่ให้เนื้อหายาวหรือเป็นวิชาการมากไป เอาเป็นว่าเริ่มกันเลยนะครับ

 ภายหลังจากที่อเมริกา รับพวกคนผิวดำในแอฟริกามาทำงานเป็นทาสรับใช้ทำงานในไร่ฝ้าย การเกษตร ในดินแดนแถบตอนใต้อเมริกา เป็นจำนวนมาก พวกนี้ก็นำเอาวัฒนธรรมติดตัวมาด้วย โดยสิ่งหนึ่งที่ต้องขอบคุณพวกนี้ก็คือดนตรีของคนดำ ที่มักร้องเล่น ในช่วงที่ว่างเว้น เสร็จจากการทำงานในแต่ละวัน การเล่นดนตรีของคนดำนี้ มาเป็นเรื่องเป็นราวกันในยุคที่ 30 - 40 นี้  ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าดนตรีบูลส์   โดยที่ศิลปินนักดนตรีบลูส์พวกนี้ มักเล่นและร้องกันตามหมู่บ้านในถิ่นที่อยู่ของตัวเอง จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ  

มีศิลปินนักดนตรีบลูส์ เป็นที่รู้จักในช่วงยุคนี้หลายคน 
อย่าง "ฺBlind Boy Fuller" มีเพลงดังอย่าง "Step It Up and Go"

Wednesday, October 5, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 1 ศิลปินรากแก้วบลูส์

           ในช่วงยุคบุกเบิกดนตรีบลูส์โดยคนดำนั้น อยู่ราวยุค 30-40   มีนักร้องนักดนตรีบูลส์ที่โด่งดังอีกคนที่มาจาก แถบมิสซิสซิปปีคือ "Robert  Johnson" 


ว่ากันว่าเป็นศิลปินรากแก้วของเพลงบูลส์ที่เป็นระดับตำนานในรุ่นบุกเบิกคนหนึ่งที่ดังมาก  เขาได้พาเพลงบูลส์ ที่ปกติร้องเล่นกันในวงจำกัด  พาออกสู่เมือง ทำให้ผู้คนในเมืองใหญ่เป็นที่รู้จักกันดี 
 แต่เป็นที่น่าเสียดาย ช่วงเวลาที่ผลิต สร้างสรรค์ผลงานของเขามีระยะเวลาสั้น ๆ ไป โดยเขาได้เสียชีวิตหลังจากที่มีผลงานเป็นที่รู้จักได้ไม่นาน  เพลงของ Robert  Johnson
ในช่วงยุคนั้น ของอเมริกาข้ามฝากไปมีอิทธิพลต่อดนตรีที่อังกฤษด้วย ผลงานเพลงของเขาเป็นแบบอย่างให้ศิลปินรุ่นหลัง ๆ เป็นแม่แบบอย่าง Eric Clapton , Alexis Korner เป็นต้น เพลงระดับตำนานของเขา อย่างเพลง

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 2 บลูส์เดินทางสู่เมืองใหญ่

              ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ทั่วโลกต่างมีปัญหาทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง งานหายากขึ้นต่างแย่งกันทำงาน นักดนตรีบลูส์ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน


ซึ่งพวกนี้เดิมเคยเล่นและร้องกันมาตามหมู่บ้านในถิ่นที่อยู่ ในวงจำกัด ต่างก็เริ่มเดินทาง กระจายตัวออกไปเล่นตามที่ต่างถิ่น  เริ่มเป็นอาชีพเลี้ยงตัวได้ บ้างก็ไปร้องเล่นกันตามบาร์ ร้านเหล้าและร้านกาแฟต่าง ๆ  ซึ่งมักพบเจอนักดนตรี ที่เรียกว่า คนจร เดินเข้ามาหางานเล่นดนตรีประจำร้านอยู่เสมอ และได้ปรับรูปแบบและวิธีการเล่นดนตรีใหม่ ๆ มานำเสนอ

ในช่วงนี้ดนตรีบลูส์ได้แยกกระจาย ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากแถบภาคใต้อเมริกา ขึ้นไปสู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา  ผ่านรัฐอิลลินอยส์  ไปจนถึงเมืองชิคาโก ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า เป็นเมืองศูนย์กลางของนักดนตรีบูลส์ ซึ่งเป็นที่รวมตัวศิลปินบลูส์อยู่ที่นั้นมากมาย
รูปแบบเพลงบูลส์ของนักดนตรีกลุ่มนี้เรียกว่า  Chicago Blues”

มีศิลปินบูลส์ที่มีชื่อเสียงมีหลายคน อาทิ

Leroy Carr ผู้เล่นเพลง “Blues Before Sunrise ” , “Mean Mistreater Mama” 

หรืออย่างนักดนตรีชื่อ Johnnie Temple กับเพลงดังของเขา “Louise Louise Blues” 

หรือ“Roosevelt Sykes” อย่างเพลง “The Night Time is the Right Time”

หรือนักดนตรีบูลส์ Jazz Gillum กับเพลง “Key to the Highway” 

           

Monday, October 3, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 3 เมื่อบลูส์ปรับตามกระแสธุรกิจ


ในช่วงยุค 30-40 ได้เกิดขึ้นของบริษัทแผ่นเสียงที่มีชื่อหลายแห่ง ที่เป็นที่รู้จักเช่น อย่างค่าย RCA  Vitor , Columbia , และ Decca  บริษัทแผ่นเสียงเหล่านี้ต่างมีธุรกิจเกี่ยวข้อง ทั้งแผ่นเสียง สถานี วิทยุ ธุรกิจการแสดง 

เมื่อเพลงบูลส์ได้เดินทางเข้าเมืองต่างก็ถูกกระแสธุรกิจที่ต้องให้ปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักดนตรีบูลส์เองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจ จึงเริ่มจับกลุ่มกันก่อตั้งเป็นคณะดนตรี จากที่แต่ก่อนเล่นกันคน สองคน วงดนตรีส่วนใหญ่ในช่วงนั้นมักเล่นเป็น กลุ่มคณะ

จะเห็นว่าเพลงบูลส์ ในช่วงนี้ นิยมร้องเล่นกันเป็นกลุ่ม เป็นคณะดนตรี  แต่ยังคงมีสำเนียงการร้องแบบเดิม ๆ และมีวงแบ็คอัพกลุ่มเล็กๆ คอยให้จังหวะและท่วงทำนองประสาน และมีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น ที่เป็นพื้นฐานอย่าง เปียโน กีตาร์ เบส และกลอง แต่อาจจะมีพวกฮาร์พ หรือ ฮาร์โมนิกา ฮอร์น หรือพวกเครื่องเป่ามาช่วยที่แตกต่างไปตามแต่ละคณะดนตรีกันบ้าง

มีนักดนตรีบูลส์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน อาทิ  Louis Jordan  - เป็นนักร้องและนักเป่าอัลโตแซ็กโซโฟน และมีคณะ Tympany Five ร่วมร้องเล่นด้วย มีเพลงที่ได้รับความนิยมอาทิ
> Saturday Night Fish ,
> Choo Choo Ch' Boogie ,
> What's the Use of Getting Sober ? (When You Gonna Get Drunk Again)

Sunday, October 2, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 4 บลูส์จาก Acoustic Guitar สู่ Electric Blues

วันนี้ผม  ขอพาผู้อ่านมาในช่วงยุคที่ 40 ช่วงที่กระแสดนตรีบลูส์เฟื่องฟู ได้มีศิลปินนักดนตรีบูลส์ที่ทำมาหากินแถบ "มิสซิสซิบปี"  ที่มีชื่ออย่าง  Muddy  Water , Howlin' Wolf , Sonny Boy Williamson ได้เดินทางไปไปแสวงหาโอกาสทำเงินที่เมือง "ชิคาโก" ที่เป็นตลาดใหญ่ด้านดนตรีเพลงบูลส์ในยุคสมัยนั้น 

ในช่วงยุคสมัยนั้น ชิคาโกบูลส์ ได้เพลิกโฉมดนตรีใหม่ จาก ที่เป็น Acoustic Guitar ที่เล่นในแบบง่าย ๆ และไม่ได้มีรูปแบบซับซ้อน  ปรับเปลี่ยนไปเล่นเครื่องดนตรีไฟฟ้ามากขึ้น มีการใช้ระบบเครื่องขยายเสียง รูปแบบจังหวะดนตรีปรับให้ร่วมสมัยมากขึ้น มีเทคนิคใหม่ ๆ เช่น การเล่นสไลด์คอกีตาร์ด้วยขวดเหล้าให้ได้สำเนียงแปลกหูที่มีเอกลักษณ์ของเพลงบูลส์

รูปแบบการเล่นสไตล์สไลด์คอกีตาร์ส่งสำเนียงบลูส์ที่เป็นเอกลักษณ์





                         ในช่วงกลางยุคที่ 40 เพลงบูลส์ถูกปรับแต่งสำเนียง เป็นบูลส์ที่มสำเนียงเครื่องดนตรีไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ เรียกยุคนี้ว่าเป็น "Electric Blues"  มีศิลปินนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและนำขบวนนำเพลงอิเลคทริคบูลส์ให้ได้รับความนิยมแพร่หลายคือ "Muddy Waters"
มีเพลงที่ได้รับความนิยมและเป็นระดับตำนานอย่างเพลง 

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 5 ทางแยกบลูส์

ในช่วงยุคทศวรรษที่ 40 นี้ ดนตรีบูลส์ แตกแขนงเป็นสองเส้นทาง ทางหนึ่งไปทางเหนืออเมริกา สู่ ชิคาโก ที่เรียกดนตรีแถบนี้ว่า เป็น "Chicago Blues" ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง มุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านเท็กซัสไปทางแคลิฟอร์เนีย เรียกดนตรีบูลส์ในแถบนี้ว่า "Southwestern Blues"

มีศิลปินนักดนตรีบูลส์เล่นแนวนี้อย่าง






                    ในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 ต่อเนื่องทศวรรษที่ 50  มีนักดนตรีบูลส์ที่มีชื่อเสียงอีกคนคือ B.B.King ที่ได้นำเอาดนตรีบูลส์มาใส่บุคลิกใหม่ เป็นแบบของเขาเองที่มีรูปแบบทันสมัยขึ้น นำเอาดนตรีแบบเวสท์โคสท์มาปรับใหม่ เรียกดนตรีบูลส์ในแบบนี้ว่า เป็น Modern Blues โดย B.B.King ได้รับเอาอิทธิพลสไตล์การเล่นกีตาร์มาจากศิลปินส์บูลส์ของ T Bone Walker มาเป็นแม่แบบของตนเอง  มีเพลงดังมากมาย อาทิ






ยุค 50’S : ตอนที่ 1 รวมคนรุ่นใหม่ด้วยภาษาเดียวกัน

 ในทศวรรษที่ 50  เกิดปรากฏการณ์ทางดนตรีที่สำคัญ การเกิดขึ้นของ ร็อคแอนด์
โรลล์ ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะมีสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ 

สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ดนตรีรูปแบบใหม่นี้ ได้สร้างกระแส ความนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ดนตรีที่มีเนื้อหาหวาน ร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน  ได้สร้างความขัดแย้งของผู้คน สังคมทางวัฒนธรรมระหว่างความเก่าและความใหม่ ระหว่างผู้ใหญ่ที่เป็นคนรุ่นเก่า ที่พยายามต่อต้านดนตรีแนวนี้ และเด็กรุ่นใหม่ ที่เติบโตมาพร้อมกับปัญหามากมายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความภาคภูมิใจของอเมริกันที่ทำให้ดนตรีกระแสนี้เกิดขึ้นในโลก กระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่รวมคนหนุ่มสาวทั่วโลกเอาไว้ด้วยภาษาดนตรีเดียวกัน นั่นคือ Rock & Roll  


ยุค 50’S : ตอนที่ 2 กระแสความคลั่งไคล้ Rock & Roll

เมื่อเข้าสู่กลางปี  1954   บิลล์บอร์ดชาร์ท ต้องบันทึกสถิติครั้งสำคัญ เมื่อเพลง Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1  เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน  โดย Bill Haley and his Comets นำเพลง ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock & Roll) ขึ้นได้รับความนิยมและแพร่หลายเหมือนไฟลามทุ่งไปทั่วโลกด้วยเพลงนี้

กระแสเพลง Rock & Roll ทางฝากฝั่งของอังกฤษ ก็ได้รับความนิยม คลั่งไคล้ของกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ไม่แพ้กัน  




ในช่วงทศวรรษที่ 50 ขณะที่ศิลปิน Rock & Roll ในระดับที่เป็นตำนาน ทยอยกันสร้างชื่อ และผลงานของตนเองไว้ที่อเมริกัน

ไม่ว่าจะ Bill Haley แห่ง The Comets ที่มีเพลงฮิตที่รู้จักกันทั่วโลกคือ Rock around the clock (1954)
Chuck Berry ผลงานที่โด่งดัง คือเพลง Meybelline (1955)
Little Richard เพลง Long tall Sally หรือ Rip it up (1956) ที่มียอดขายเกินหลักล้าน,
Jerry Lee Lewis กับเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำ Whole latta shakin' goin' on (1957)
หรือ Buddy Holly ผลงานที่ฮิตที่สุด Peggy Sue (1957)
Fats Domino
Bo Diddley
Ray Charles

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More