Monday, October 3, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 3 เมื่อบลูส์ปรับตามกระแสธุรกิจ


ในช่วงยุค 30-40 ได้เกิดขึ้นของบริษัทแผ่นเสียงที่มีชื่อหลายแห่ง ที่เป็นที่รู้จักเช่น อย่างค่าย RCA  Vitor , Columbia , และ Decca  บริษัทแผ่นเสียงเหล่านี้ต่างมีธุรกิจเกี่ยวข้อง ทั้งแผ่นเสียง สถานี วิทยุ ธุรกิจการแสดง 

เมื่อเพลงบูลส์ได้เดินทางเข้าเมืองต่างก็ถูกกระแสธุรกิจที่ต้องให้ปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักดนตรีบูลส์เองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจ จึงเริ่มจับกลุ่มกันก่อตั้งเป็นคณะดนตรี จากที่แต่ก่อนเล่นกันคน สองคน วงดนตรีส่วนใหญ่ในช่วงนั้นมักเล่นเป็น กลุ่มคณะ

จะเห็นว่าเพลงบูลส์ ในช่วงนี้ นิยมร้องเล่นกันเป็นกลุ่ม เป็นคณะดนตรี  แต่ยังคงมีสำเนียงการร้องแบบเดิม ๆ และมีวงแบ็คอัพกลุ่มเล็กๆ คอยให้จังหวะและท่วงทำนองประสาน และมีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น ที่เป็นพื้นฐานอย่าง เปียโน กีตาร์ เบส และกลอง แต่อาจจะมีพวกฮาร์พ หรือ ฮาร์โมนิกา ฮอร์น หรือพวกเครื่องเป่ามาช่วยที่แตกต่างไปตามแต่ละคณะดนตรีกันบ้าง

มีนักดนตรีบูลส์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน อาทิ  Louis Jordan  - เป็นนักร้องและนักเป่าอัลโตแซ็กโซโฟน และมีคณะ Tympany Five ร่วมร้องเล่นด้วย มีเพลงที่ได้รับความนิยมอาทิ
> Saturday Night Fish ,
> Choo Choo Ch' Boogie ,
> What's the Use of Getting Sober ? (When You Gonna Get Drunk Again)

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More