ตำนานเพลงที่ไม่มีวันตาย : Elvis Preley

ย้อนเรื่องราวครั้งวันวาน ในยุคสมัยของคุณ พาสู่ดนตรีที่เป็นตำนานและอยู่ในใจของใครหลายคน ทุกเรื่องราว ทุกบทเพลงแห่งความทรงจำ นำมารวมไว้ในที่นี้ ให้ได้ติดตามกัน

กว่าจะมาเป็น Rock and Roll

ไปพบกับเรื่องราว เสียงเพลงแห่งตำนานดนตรี Rock and Roll ทุกเรื่องราว ความเป็นมา ให้หวลรำลึก ตำนานเพลง จากคนดำสู่ คนขาว หลากหลายดนตรี หลายสายพันธ์ดนตรี ไม่มีวันลืม

ดนตรียุคใหม่แห่งอิเล็คทริค และเสียงสังเคราะห์สู่ตำนาน

ยุคทศวรรษสู่โลกดนตรีอิเล็คทริค เสียงสังเคราะห์สู่ดนตรียุคใหม่อย่างสมบูรณ์ ทุกเรื่องราวดนตรี และความยิ่งใหญ่แห่งตำนานเพลงที่ไม่มีวันตาย รอคุณอยู่ ณ ที่นี้ โลกของบทเพลงแห่งตำนาน

ยุคสมัยการวางรากฐานดนตรีที่มั่นคง

กระแสดนตรีจากเกาะอังกฤษที่ถาโถมสังคมอเมริกันที่จดจำแห่งยุคสมัย The Beatles วง 4 เต่าทองผู้สร้างกระแสความนิยมไปทั่วโลก พบกับตำนานเพลงและเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้ได้ที่นี่

คันทรีย์ร็อคที่มีอิทธิพลแห่งยุคสมัย

บทเพลง The EAGLES สร้างตำนานเพลงแห่งยุคสมัย พบกับเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้และเรื่องราวในยุคสมัยมากมาย รอคุณอยู่ ณ ที่แห่งนี้

Wednesday, October 5, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 1 ศิลปินรากแก้วบลูส์

           ในช่วงยุคบุกเบิกดนตรีบลูส์โดยคนดำนั้น อยู่ราวยุค 30-40   มีนักร้องนักดนตรีบูลส์ที่โด่งดังอีกคนที่มาจาก แถบมิสซิสซิปปีคือ "Robert  Johnson" 


ว่ากันว่าเป็นศิลปินรากแก้วของเพลงบูลส์ที่เป็นระดับตำนานในรุ่นบุกเบิกคนหนึ่งที่ดังมาก  เขาได้พาเพลงบูลส์ ที่ปกติร้องเล่นกันในวงจำกัด  พาออกสู่เมือง ทำให้ผู้คนในเมืองใหญ่เป็นที่รู้จักกันดี 
 แต่เป็นที่น่าเสียดาย ช่วงเวลาที่ผลิต สร้างสรรค์ผลงานของเขามีระยะเวลาสั้น ๆ ไป โดยเขาได้เสียชีวิตหลังจากที่มีผลงานเป็นที่รู้จักได้ไม่นาน  เพลงของ Robert  Johnson
ในช่วงยุคนั้น ของอเมริกาข้ามฝากไปมีอิทธิพลต่อดนตรีที่อังกฤษด้วย ผลงานเพลงของเขาเป็นแบบอย่างให้ศิลปินรุ่นหลัง ๆ เป็นแม่แบบอย่าง Eric Clapton , Alexis Korner เป็นต้น เพลงระดับตำนานของเขา อย่างเพลง

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 2 บลูส์เดินทางสู่เมืองใหญ่

              ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ทั่วโลกต่างมีปัญหาทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง งานหายากขึ้นต่างแย่งกันทำงาน นักดนตรีบลูส์ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน


ซึ่งพวกนี้เดิมเคยเล่นและร้องกันมาตามหมู่บ้านในถิ่นที่อยู่ ในวงจำกัด ต่างก็เริ่มเดินทาง กระจายตัวออกไปเล่นตามที่ต่างถิ่น  เริ่มเป็นอาชีพเลี้ยงตัวได้ บ้างก็ไปร้องเล่นกันตามบาร์ ร้านเหล้าและร้านกาแฟต่าง ๆ  ซึ่งมักพบเจอนักดนตรี ที่เรียกว่า คนจร เดินเข้ามาหางานเล่นดนตรีประจำร้านอยู่เสมอ และได้ปรับรูปแบบและวิธีการเล่นดนตรีใหม่ ๆ มานำเสนอ

ในช่วงนี้ดนตรีบลูส์ได้แยกกระจาย ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากแถบภาคใต้อเมริกา ขึ้นไปสู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา  ผ่านรัฐอิลลินอยส์  ไปจนถึงเมืองชิคาโก ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า เป็นเมืองศูนย์กลางของนักดนตรีบูลส์ ซึ่งเป็นที่รวมตัวศิลปินบลูส์อยู่ที่นั้นมากมาย
รูปแบบเพลงบูลส์ของนักดนตรีกลุ่มนี้เรียกว่า  Chicago Blues”

มีศิลปินบูลส์ที่มีชื่อเสียงมีหลายคน อาทิ

Leroy Carr ผู้เล่นเพลง “Blues Before Sunrise ” , “Mean Mistreater Mama” 

หรืออย่างนักดนตรีชื่อ Johnnie Temple กับเพลงดังของเขา “Louise Louise Blues” 

หรือ“Roosevelt Sykes” อย่างเพลง “The Night Time is the Right Time”

หรือนักดนตรีบูลส์ Jazz Gillum กับเพลง “Key to the Highway” 

           

Monday, October 3, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 3 เมื่อบลูส์ปรับตามกระแสธุรกิจ


ในช่วงยุค 30-40 ได้เกิดขึ้นของบริษัทแผ่นเสียงที่มีชื่อหลายแห่ง ที่เป็นที่รู้จักเช่น อย่างค่าย RCA  Vitor , Columbia , และ Decca  บริษัทแผ่นเสียงเหล่านี้ต่างมีธุรกิจเกี่ยวข้อง ทั้งแผ่นเสียง สถานี วิทยุ ธุรกิจการแสดง 

เมื่อเพลงบูลส์ได้เดินทางเข้าเมืองต่างก็ถูกกระแสธุรกิจที่ต้องให้ปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักดนตรีบูลส์เองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจ จึงเริ่มจับกลุ่มกันก่อตั้งเป็นคณะดนตรี จากที่แต่ก่อนเล่นกันคน สองคน วงดนตรีส่วนใหญ่ในช่วงนั้นมักเล่นเป็น กลุ่มคณะ

จะเห็นว่าเพลงบูลส์ ในช่วงนี้ นิยมร้องเล่นกันเป็นกลุ่ม เป็นคณะดนตรี  แต่ยังคงมีสำเนียงการร้องแบบเดิม ๆ และมีวงแบ็คอัพกลุ่มเล็กๆ คอยให้จังหวะและท่วงทำนองประสาน และมีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น ที่เป็นพื้นฐานอย่าง เปียโน กีตาร์ เบส และกลอง แต่อาจจะมีพวกฮาร์พ หรือ ฮาร์โมนิกา ฮอร์น หรือพวกเครื่องเป่ามาช่วยที่แตกต่างไปตามแต่ละคณะดนตรีกันบ้าง

มีนักดนตรีบูลส์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน อาทิ  Louis Jordan  - เป็นนักร้องและนักเป่าอัลโตแซ็กโซโฟน และมีคณะ Tympany Five ร่วมร้องเล่นด้วย มีเพลงที่ได้รับความนิยมอาทิ
> Saturday Night Fish ,
> Choo Choo Ch' Boogie ,
> What's the Use of Getting Sober ? (When You Gonna Get Drunk Again)

Sunday, October 2, 2011

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 4 บลูส์จาก Acoustic Guitar สู่ Electric Blues

วันนี้ผม  ขอพาผู้อ่านมาในช่วงยุคที่ 40 ช่วงที่กระแสดนตรีบลูส์เฟื่องฟู ได้มีศิลปินนักดนตรีบูลส์ที่ทำมาหากินแถบ "มิสซิสซิบปี"  ที่มีชื่ออย่าง  Muddy  Water , Howlin' Wolf , Sonny Boy Williamson ได้เดินทางไปไปแสวงหาโอกาสทำเงินที่เมือง "ชิคาโก" ที่เป็นตลาดใหญ่ด้านดนตรีเพลงบูลส์ในยุคสมัยนั้น 

ในช่วงยุคสมัยนั้น ชิคาโกบูลส์ ได้เพลิกโฉมดนตรีใหม่ จาก ที่เป็น Acoustic Guitar ที่เล่นในแบบง่าย ๆ และไม่ได้มีรูปแบบซับซ้อน  ปรับเปลี่ยนไปเล่นเครื่องดนตรีไฟฟ้ามากขึ้น มีการใช้ระบบเครื่องขยายเสียง รูปแบบจังหวะดนตรีปรับให้ร่วมสมัยมากขึ้น มีเทคนิคใหม่ ๆ เช่น การเล่นสไลด์คอกีตาร์ด้วยขวดเหล้าให้ได้สำเนียงแปลกหูที่มีเอกลักษณ์ของเพลงบูลส์

รูปแบบการเล่นสไตล์สไลด์คอกีตาร์ส่งสำเนียงบลูส์ที่เป็นเอกลักษณ์





                         ในช่วงกลางยุคที่ 40 เพลงบูลส์ถูกปรับแต่งสำเนียง เป็นบูลส์ที่มสำเนียงเครื่องดนตรีไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ เรียกยุคนี้ว่าเป็น "Electric Blues"  มีศิลปินนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและนำขบวนนำเพลงอิเลคทริคบูลส์ให้ได้รับความนิยมแพร่หลายคือ "Muddy Waters"
มีเพลงที่ได้รับความนิยมและเป็นระดับตำนานอย่างเพลง 

ยุค 30's-40's : ตอนที่ 5 ทางแยกบลูส์

ในช่วงยุคทศวรรษที่ 40 นี้ ดนตรีบูลส์ แตกแขนงเป็นสองเส้นทาง ทางหนึ่งไปทางเหนืออเมริกา สู่ ชิคาโก ที่เรียกดนตรีแถบนี้ว่า เป็น "Chicago Blues" ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง มุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านเท็กซัสไปทางแคลิฟอร์เนีย เรียกดนตรีบูลส์ในแถบนี้ว่า "Southwestern Blues"

มีศิลปินนักดนตรีบูลส์เล่นแนวนี้อย่าง






                    ในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 ต่อเนื่องทศวรรษที่ 50  มีนักดนตรีบูลส์ที่มีชื่อเสียงอีกคนคือ B.B.King ที่ได้นำเอาดนตรีบูลส์มาใส่บุคลิกใหม่ เป็นแบบของเขาเองที่มีรูปแบบทันสมัยขึ้น นำเอาดนตรีแบบเวสท์โคสท์มาปรับใหม่ เรียกดนตรีบูลส์ในแบบนี้ว่า เป็น Modern Blues โดย B.B.King ได้รับเอาอิทธิพลสไตล์การเล่นกีตาร์มาจากศิลปินส์บูลส์ของ T Bone Walker มาเป็นแม่แบบของตนเอง  มีเพลงดังมากมาย อาทิ






ยุค 50’S : ตอนที่ 1 รวมคนรุ่นใหม่ด้วยภาษาเดียวกัน

 ในทศวรรษที่ 50  เกิดปรากฏการณ์ทางดนตรีที่สำคัญ การเกิดขึ้นของ ร็อคแอนด์
โรลล์ ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะมีสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ 

สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ดนตรีรูปแบบใหม่นี้ ได้สร้างกระแส ความนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ดนตรีที่มีเนื้อหาหวาน ร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน  ได้สร้างความขัดแย้งของผู้คน สังคมทางวัฒนธรรมระหว่างความเก่าและความใหม่ ระหว่างผู้ใหญ่ที่เป็นคนรุ่นเก่า ที่พยายามต่อต้านดนตรีแนวนี้ และเด็กรุ่นใหม่ ที่เติบโตมาพร้อมกับปัญหามากมายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความภาคภูมิใจของอเมริกันที่ทำให้ดนตรีกระแสนี้เกิดขึ้นในโลก กระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่รวมคนหนุ่มสาวทั่วโลกเอาไว้ด้วยภาษาดนตรีเดียวกัน นั่นคือ Rock & Roll  


ยุค 50’S : ตอนที่ 2 กระแสความคลั่งไคล้ Rock & Roll

เมื่อเข้าสู่กลางปี  1954   บิลล์บอร์ดชาร์ท ต้องบันทึกสถิติครั้งสำคัญ เมื่อเพลง Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1  เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน  โดย Bill Haley and his Comets นำเพลง ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock & Roll) ขึ้นได้รับความนิยมและแพร่หลายเหมือนไฟลามทุ่งไปทั่วโลกด้วยเพลงนี้

กระแสเพลง Rock & Roll ทางฝากฝั่งของอังกฤษ ก็ได้รับความนิยม คลั่งไคล้ของกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ไม่แพ้กัน  




ในช่วงทศวรรษที่ 50 ขณะที่ศิลปิน Rock & Roll ในระดับที่เป็นตำนาน ทยอยกันสร้างชื่อ และผลงานของตนเองไว้ที่อเมริกัน

ไม่ว่าจะ Bill Haley แห่ง The Comets ที่มีเพลงฮิตที่รู้จักกันทั่วโลกคือ Rock around the clock (1954)
Chuck Berry ผลงานที่โด่งดัง คือเพลง Meybelline (1955)
Little Richard เพลง Long tall Sally หรือ Rip it up (1956) ที่มียอดขายเกินหลักล้าน,
Jerry Lee Lewis กับเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำ Whole latta shakin' goin' on (1957)
หรือ Buddy Holly ผลงานที่ฮิตที่สุด Peggy Sue (1957)
Fats Domino
Bo Diddley
Ray Charles

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More