Friday, October 21, 2011

ลูกทุ่งตะวันตก คาวบอยซอง (Cowboy Song)

                  ในช่วงทศวรรษที่ 40 - 50 เพลงบลูส์ยังคงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและวัฒนาการทางกระแสดนตรี แต่ตลาดดนตรีส่วนใหญ่เป็นของคนผิวขาว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ถึงแม้วิทยาการจะทำให้สหรัฐอเมริกาดูเจริญขึ้น แต่ขีดศีลธรรมในใจยังไม่ดีขึ้นในหลาย ๆ ภูมิภาคของประเทศ การกีดกันสีผิวและเกลียดชังคนผิวสียังคงดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่คนขาวไม่อาจปฏิเสธก็คือการขโมยสมบัติของคนดำมาใช้นั่นคือ "เพลงบลูส์"  ด้วยเหตุนี้ทำให้คนขาวพยายามที่จะนำเพลงบลูส์ มาประยุกต์ ดัดแปลงให้เป็นของตนเอง ซึ่งยุคแรก ๆ ก็จะมีนักร้อง นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ คน อย่างเช่น Hank William (แฮงค์  วิลเลี่ ยมส์) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงผิวขาวจากอลาบามา ซึ่งโด่ง ดังขึ้นมาด้วยเพลงแบบ "Honkytonk" (ฮองกีย์ทองค์)

                      แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  เดินตามรอย "จิมมี่  ร็อดเจอร์" ผู้บุกเบิกสร้างดนตรีบลูส์ของคนขาวขึ้น  จนกลายเป็นเพลงคันทรีย์ที่มีรูปแบบแปลกไปจากเดิมที่คนขาวเคยเล่นกัน  " ฮองกีย์ทองค์ " เป็นรูปแบบเพลงคันทรี่ย์ ที่มีรูปแบบง่าย ๆ ที่ไม่เหมือนคันทรี่แบนด์ทั่วไป  ดนตรีแบบนี้มักเป็นการเล่าเรื่องจากชีวิตจริง หรือบทโคลงกลอนที่จดจำกันมา  แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  เขียนเพลงประเภทนี้ไว้มากมาย ที่ดัง ๆ  อาทิ เช่น " Yourge Cheatin Heart " " I'm So Lonesome I Could Cry " " C old Cold Heart  " แฮงค์  วิลเลี่ยมส์  ได้ทำให้เพลงแบบ ฮองกีย์ทองค์ โด่งดังขึ้น จนกลายเป็นเพลงที่เปิดฟังกันอย่างแพร่หลายในช่วงนั้น และดูจะเป็นนักดนตรีคนเดียวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 40  แต่แล้วเมื่ออายุเพียง 30 ปี แฮงค์  วิลเลี่ยมส์   ก็ต้องลาจากโลกนีไป เพราะการเสพยาเกินขนาด หากแต่ชื่อเสียงของเขาก็ยังคงเป็นที่จดจำกันจนทุกวันนี้

นอกจากแฮงค์   วิลเลี่ยมแล้ว  ยังมีนักร้องประเภทฮองกีท้องค์ในยุคเดียวกันอีกหลายคน อาทิเช่น Ernest Tubb , Web Pierce , Lefty Frizzell  และมีนักร้องหญิง Kitt Wells ที่ร้องเพลงในสไตล์ของฮองกีท้องค์ด้วย  เพลงของ ฮองกีท้องค์ในยุคนี้เนื้อหาออกมาหลาย ๆ แนว ล้วนเป็นการแสดงออกถึงการใช้ชีวิตของผู้ชายเป็นส่นใหญ่ ทั้งการเดินทาง การต่อสู้ผจญภัย หรือการระหกระเหิน เช่นเพลง Slipping Around , Wild Side of Life  หรือเพลงแบบสำมะเลเทเมา There Stands the Glass และเพลงของคนที่อ้างว้างว้าเหว่ Walking the Floor over You ด้านภาพพจน์ของนักดนตรีแบบฮองกีท้องค์ มักถูกสร้างภาพเป็นพวกนักแสวงโชค ไม่มีหลัก ไม่มีฐานแน่นอน ไม่มีสตางค์  ชีวิตไม่มีแก่นสาร ชีวิตจมปลักกับบาร์ เหล้า ปราศจากเพื่อน ปราศจากความรัก วัน ๆ ไม่มีอะไรดีไปกว่า การดื่มและพร่ำเพ้อแต่เรื่องไร้สาระ เปรียบไปก็เหมือนกับคนจรนั่นเอง
ในช่วงแรก ๆ ดนตรีฮองกีท้องค์ มักจะร้องเล่นโดยนักดนตรีเพียงคนเดียว กับอคูสติกกีตาร์เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของเพลงบูลส์ ในยุคแรก ๆ แต่ต่อมาได้พัฒนาเล่นเป็นวง มีการนำ ฟิลเดิล (Fiddle) หรือ ซอฝรั่ง มาใช้ด้วย โดยมีริธึ่มกีตาร์ และเบสคอยเป็นแบ็คอัพให้  กระทั่งต่อมาเครื่องดนตรีไฟฟ้าถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย นักดนตรีฮองกีท้องค์จึงได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย นักร้องเพลงแบบฮองกีท้องค์รุ่นต่อมา ที่ทำเพลงแนวนี้ให้เป็นที่นิยมและโด่งดังในยุค ทศวรรษที่ 50 คือ Johnny Horton
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ทางด้านตลาดเพลงคันทรี่แท้ ๆ เองก็ยังคงดำเนินไปอย่างปกติ ศิลปินยังคงทำผลงานออกมาในกลุ่มผู้ฟังของตนเอง นักร้องคันทรี่สองคน ที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงคันทรี่ คือ Roy Acuff , และ Hank Snow ทั้งสองโดดเด่นขึ้นมาโดยการนำเสนอแนวทางใหม่ให้กับเพลงคันทรี่ พวกเขาใช้บทเพลงในที่พูดถึงความหวังในเชิงคำสอนของพระเจ้า ทำให้เพลงคันทรี่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ ขึ้นบ้างจากเดิมที่เป็นเพียงเพลงเพื่อชีวิตและสังคมแบบชาวชนบทเท่านั้น  Acuff มีเพลงดังอย่าง Wabash Cannonball , Freight Train Blues , ส่วนของ Snow ก็มีเพลง I'm Moving On , The Golden Rocket เพลงเหล่านี้ยังคงทรงอืทธิพลกับวงการของเพลงคันทรี่ในยุคต่อ ๆมาอีกด้วย ทั่ง Acuff และ Snow เป็นเสมือนผู้จุดประกายเพลงคันทรี่ให้จรัสแสงชึ้น และยังเป็นผู้บุกเบิกเพลงแนวเพลงคันทรี่ให้เป็นที่นิยมในวงกว้าง จนมีตลาดเพลงเฉพาะของตัวเองจนทุกวันนี้  ( เพลงคันทรี่เดิม เป็นเพลงที่ข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาจากอังกฤษพร้อมกับกลุ่มชนชั้นล่าง ที่บุกเบิกที่ขึ้นมาในแผ่นดินอเมริกาตอนเหนือ เมื่อเดินทางรอนแรม ข้ามฝั่งมาหาดินแดนสำหรับปักฐานเพาะปลูกในฝั่งตะวันตก พวกเขาได้ใช้ดนตรีที่ติดตัวมาร้องเล่นกันด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านแบบง่าย ๆ อย่าง ซอ , ฮาร์พ , แอ็คโคเดียน , และเครื่องเคาะที่ใช้ Washboard หรือ กระดานซักผ้า ต่อมาเมื่อเพลงแบบนี้แพร่หลายขึ้น จึงมีการรวมกลุ่มเป็นวงและมีกีตาร์เข้ามาช่วย จนกระทั่งประยุกต์มาเป็นเพลงรูปแบบต่าง ๆ จนทุกวันนี้

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More